หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล โคกพระ ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลโคกพระ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลโคกพระ
ศาสนสถานศูนย์รวมใจในตำบลวัดสุรรณาวาส
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกพระ
อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
1
2
3
 
 
 
เริ่มนับ วันที่ 24 ธ.ค. 2558
วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ยุทธศาสตร์
 
วิสัยทัศน์ อบต.โคกพระ
"พัฒนาทรัพยากรบุคคล ส่งเสริมแหล่งผลิตเกษตรปลอดสารพิษ ผลิตภัณฑ์ชุมชน(OTOP)
เน้นการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการและการให้บริการประชาชนด้วยความสะดวกรวดเร็ว"
 
 
พันธกิจ
ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธรรณูปการ ให้ได้มาตรฐานและเพียงพอ ต่อความต้องการเพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
ส่งเสริมและสนับสนุนการเสริมสร้างสังคมให้เข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ให้กับประชาชน
ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคนและเสริมสร้างสังคมให้เข้มแข็ง
ปรับปรุงและพัฒนาด้านความปลอดภัยในชีวิติและทรัพย์สินของประชาชน
จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมมภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน
ส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาทั้งการศึกษาให้สามารถ เข้าถึงการบริการทางการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและและการศึกษาตามอัธยาศัย
รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู ่และเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบล ให้ได้รับบริการขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง
เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
จุดมุ่งหมาย (เป้าประสงค์)
มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่มีประสิทธิภาพ และเพียงพอกับความต้องการเป็นการยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชน
สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเป็นสังคมเข้มแข็ง
การบริการและการบริหารขององค์การมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
พัฒนาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้การมีส่วนร่วม ของคนในชุมชนเพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืน
ประชาชนในตำบลได้รับบริการขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง
รักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
 
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่
1
ยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนาด้านสร้างสังคมแห่งการเรีนยรู้และสินค้าเกษตรอินทรีย์
แนวทางการพัฒนา
การสร้างโอกาสให้กับประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการทางการศึกษาทั้งใน ระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยการจัดหาหรือการสร้าง วัตกรรมในการให้บริการในรูปแบบต่างๆ
พัฒนาเสริมสร้างบรรยากาศของสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเป็นแหล่งเรียนรู้ และศูนย์กลางวัฒนธรรม
สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังแรงงานให้มีความรู้มีทักษะใน วิชาชีพเพื่อเสริมสร้างภาวการณ์แข่งขันและเน้นการเพิ่มรายได้ให้ กับประชาชน
การอนุรักษ์ พัฒนา ส่งเสริม ศาสนาวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา บุคลากรและขบวนการเรียนการสอนทุกรูปแบบทั้งในและนอกระบบที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนสนับสนุนการเรียนรู้ตอลดชีวิตที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในแต่ละท้องถิ่น
เสริมสร้างเด็กและเยาวชนเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการพัฒนาให้มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม เริ่มตั้งแต่แรกเกิด และให้ความสำคัญแก่การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ครอบครัวอบอุ่น
ยุทธศาสตร์ที่
2
ยุทธศาสตร์การส่งเสริมให้เน้นแหล่งผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์
แนวทางการพัฒนา
ปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานการผลิตและการปรับโครงสร้างการผลิตไป สู่การผลิตที่เน้นเกษตรอินทรีย์ การเกษตรที่ปลอดภัยจากสารพิษ การเกษตร ไร้สารพิษ การเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ
เพิ่มปริมาณของสินค้า ภาคการเกษตร ปศุสัตว์และการประมง เพื่อเพิ่มรายได้ ให้กับประชาชน รวมทั้งการเพิ่มคุณภาพการเพิ่มคุณภาพของสินค้า ภาคเกษตร ให้ได้ตามมาตรฐานและสามารถแข่งขันได้
พัฒนาและส่งเสริมให้มีการนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีสมัยใหม่มา ใช้ในการผลิต รวมทั้ง สนับสนุนความเข้มแข็งของสถาบันเกษตร
ยุทธศาสตร์ที่
3
ยุทธศาสตร์การสร้างชุมชนเข้มแข็ง การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
แนวทางการพัฒนา
พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนทุกระดับรวมทั้งการสร้างเครือข่ายขององค์กร
ส่งเสริมชุมชนหน้าอยู่และสังคมที่สงบสุข ปลอดภัย
การพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและสร้างความเข้มแข็งให้กระบวนการประชาสังคม
ส่งเสริมกีฬาและสันทนาการเพื่อสร้างโอกาสให้เยาวชนได้พัฒนาทักษะด้านกีฬาสู่ความเป็นเลิศ สร้างนิสัยรักการกีฬาและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
เสริมสร้างคนให้ลด ละ เลิก พฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อสุขภาพ ส่งเสริมการออกกำลังกายและดูแลสุขภาพตนเอง
ส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายและจิต ตลอดจนคุ้มครองผู้บริโภคโดยให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอายุ
ส่งเสริมความรู้และอาชีพให้กลุ่มองค์กรต่างๆ ให้สามารถพึ่งตนเองได้
สร้างความเข้มแข็งให้สถาบันครอบครัวและชุมชน ร่วมกันพัฒนาศักยภาพและคุ้มครองสมาชิก ทุกช่วงวัยอย่างเป็นองค์กรรวม
สร้างและขยายโอกาสในการเข้าถึงหลักประกันสังคมขั้นพื้นฐานสำหรับผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ติดเชื้อและผู้ด้อยโอกาส
ยุทธศาสตร์ที่
4
ยุทธศาสตร์เสริมสร้างเศรษฐกิจเพื่อชุมชน
แนวทางการพัฒนา
พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP และการท่องเที่ยว
ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง
ส่งเสริมเศรษฐกิจเพื่อชุมชน
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรในด้านการขนส่ง เก็บรักษาและรวบรวมผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว
ส่งเสริมการพัฒนาการเพิ่มมูลค่ามาตรฐานสินค้าเพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขันของสินค้าเกษตรที่มีมาตรฐานคุณภาพ ศักยภาพทางการตลาดสูง และมีโอกาสเพิ่มมูลค่า เช่น การเลี้ยงโค กระบือ ปศุสัตว์ ข้าวหอมมะลิ
ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อให้เกิดแนวทางในการนำไปสู่ขบวนการวิสาหกิจชุมชนและสนับสนุนสหกรณ์ ที่มีความเข้มแข็งแล้วให้พัฒนา
ไปสู่การลงทุนธุรกิจการเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ยุทธศาสตร์ที่
5
ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการพัฒนา
การฟื้นฟู บำรุงรักษา ทรัพยากรดิน ป่าไม้และใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ
การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้การมีส่วนร่วมของเอกชนและชุมชน ท้องถิ่น
การควบคุมมลพิษจากขยะ น้ำเสีย ก๊าซ กลิ่นและเสียง
ฟื้นฟูแหล่งป่าธรรมชาติในลุ่มน้ำ เพื่อเก็บกักและลดความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติ ภัยแล้งและอุทกภัย
ส่งเสริมและสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตร
ส่งเสริมและวางระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่เกษตรกรรม
เสริมสร้างการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ส่งเสริมการคุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาป่าและน้ำ
ยุทธศาสตร์ที่
6
ยุทธศาสตร์ด้านการเมืองการบริหารจัดการและการพัฒนาบุคคากร
แนวทางการพัฒนา
ส่งเสริมและผลักดันให้มีการปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ส่งเสริมบุคลากรให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพของข้าราชการ ผู้บริหาร สมาชิก อบต. ประชาชนในตำบลและทุกภาคส่วน
 
 
 
รับเรื่องราวร้องเรียน
โทร : 043-789-323