หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล โคกพระ ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลโคกพระ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลโคกพระ
ศาสนสถานศูนย์รวมใจในตำบลวัดสุรรณาวาส
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกพระ
อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
1
2
3
 
 
เริ่มนับ วันที่ 24 ธ.ค. 2558
 
 
มาตรการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก อบต.โคกพระ
โดย องค์การบริหารส่วนตำบลโคกพระ
ลงข่าว ณ วันที่ 27 พ.ค. 2563 เวลา 13.48 น.
ผู้เข้าชม 1028 ท่าน
มาตรการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลโคกพระ
โดยกำหนดมาตรการรองรับ 5 ส ดังนี้
1.การป้องกัน ด้วยมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค คือ เก็บบ้าน ให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายเกาะพัก เก็บขยะเศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย และเก็บน้ำปิดให้มิดชิดหรือเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกสัปดาห์ไม่ให้ยุงลายวางไข่ซึ่งสามารถป้องกันได้3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย พร้อมเพิ่มมาตรการ 5 ส. โดยกำชับให้สถานที่ทำงาน โรงงาน บ้าน ชุมชน โรงเรียน และวัด ทั่วตำบลโคกพระ
2.การเฝ้าระวังและตรวจจับการระบาด เฝ้าระวังพิเศษเข้มข้นในพื้นที่เสี่ยงสูง ในด้านการดูแลรักษาตามอาการ ให้แพทย์สั่งยาทากันยุงให้ผู้ป่วยเพิ่มเติม หากมีการแพร่ระบาดต้องส่งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วดำเนินการควบคุมโรคในชุมชนเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำและกำจัดยุงลายตัวแก่ ตามมาตรการควบคุมโรคมาตรการควบคุมโรค พบผู้ป่วยให้ใช้มาตรการ 3-3-3-7-14-21-28 อย่างต่อเนื่อง คือแจ้งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วภายใน 3 ชั่วโมง ทีมสอบสวนโรคลงสอบสวนโรคภายใน 3 ชั่วโมง และดำเนินการสำรวจกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้านผู้ป่วยและฉีดสเปร์ยกำจัดยุงด้วยการพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายในรัศมี
อย่างน้อย 100 เมตร 3 วัน ต่อมา ต้องดำเนินการสำรวจและกำจัดยุงด้วยการพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยอย่างน้อยในรัศมี100 เมตรของบ้านผู้ป่วยและจุดที่สงสัยเป็นแหล่งโรค ประสานงานทางโทรศัพท์ และ Line เพื่อชี้แจงเหตุการณ์ให้สุขศึกษาถึงการป้องกันตนเองและอาการที่ต้องเฝ้าระวัง7 วัน ต่อมา ต้องดำเนินการสำรวจและกำจัดยุงด้วยการพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยอย่างน้อยในรัศมี 100 เมตรของบ้านผู้ป่วยและจุดที่สงสัยเป็นแหล่งโรคเป้าหมายไม่พบลูกน้ำในบ้านและภาชนะในรัศมี 100เมตรจากบ้านผู้ป่วย(HI และCI เป็นศูนย์)14 วัน ต่อมา สำรวจและกำจัดลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านที่เกิดโรค ถ้าพบผู้ป่วยหลายหมู่บ้านให้ดำเนินการทั้งตำบลโดยเป้าหมายบ้านที่พบลูกน้ำไม่เกินร้อยละ5ของบ้านทั้งหมดที่สำรวจ (HIไม่เกินร้อยละ 5)21 วัน ต่อมา สำรวจและกำจัดลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านที่เกิดโรค เป้าหมายบ้านที่พบลูกน้ำไม่เกินร้อยละ5ของบ้านทั้งหมดที่สำรวจ (HIไม่เกินร้อยละ 5) และไม่พบลูกน้ำยุงลายในสถานพยาบาลในตำบล(CIของสถานพยาบาลในต ำบลเป็นศูนย์)28 วัน เป็นต้นไป คงมาตรฐานการสำรวจและก าจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนทุก 7 วันโดยชุมชนมีส่วนร่วมและคงมาตรฐานการพ่นสารเคมีเสริมทุก 7 วัน หากยังมีผู้ป่วยต่อเนื่องโดยเน้นในพื้นที่ 6 โรง คือ โรงพยาบาล โรงเรือน โรงงาน โรงแรม โรงเรียน และโรงธรรมด้วยการปฏิบัติ6 ป คือปิด ปิดภาชนะน้ าดื่มน้ำใช้ทุกชนิดให้มิดชิด เพื่อป้องกันยุงลายวางไข่เปลี่ยน เปลี่ยนน้ำในแจกัน ดอกไม้จานรองขาตู้กับข้าว และภาชนะใส่น้ำที่ให้สัตว์เลี้ยงต่างๆภายในบ้านเรือน เช่น นก ไก่สุนัข แมว ทุกสัปดาห์ หรือใส่เกลือแกง น้ำส้มสายชูล้างภาชนะน้ำดื่ม น้ำใช้ทุกๆ ๗ วัน เพื่อป้องกันยุง ลายวางไข่ปล่อย ปล่อยปลากินลูกน้ำ เช่น ปลากระดี่ ปลาหางนกยูง ในโอ่งน้ำบ่อน้ำ เพื่อกินลูกน้ำยุงลาย ปรับปรุง ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในบ้าน นอกบ้าน ที่สาธารณะไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เก็บ คว่ำ ทำลายภาชนะน้ำขังที่ไม่ใช้เช่น กระป๋องยางรถ เศษวัสดุกักน้ำอื่นๆ หมั่นทำความสะอาดบริเวณบ้าน และรอบบ้าน ที่อาจเป็นแหล่งน้ำขังและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงได้
ป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด โดยทาโลชั่นป้องกันยุงกัด หรือการนอนกางมุ้งปฏิบัติปฏิบัติตามมาตรการ 5 ป ทุกวัน เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และลูกน้ำยุงลาย เพื่อตัดวงจรยุงลายที่
เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก
 
 
 
 
 
 
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย
X
X